แปลผลค่าไต ดูยังไง รู้ไว้ อ่านเป็น
แปลผลค่าไต ดูยังไง รู้ไว้ อ่านเป็น

ไตคืออวัยวะที่มีบทบาทสำคัญในการปรับความสมดุลของสารต่างๆ ในร่างกายและช่วยขับออกไปในรูปแบบของเหลวที่เรียกว่าปัสสาวะ

เพื่อให้ไตทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจไตเป็นประจำจึงมีความสำคัญเพื่อชี้และค้นหาสาเหตุของการทำงานที่ผิดปกติในทุกส่วนประกอบของไต เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการวินิจฉัย และให้แนวทางการรักษาที่เหมาะสมและถูกต้อง


ตรวจค่าไต คืออะไร ทำไมต้องตรวจ

การตรวจไต (Renal Function Test) เป็นกระบวนการตรวจสอบสภาพของเสียที่ไตขับออกมา โดยใช้วิธีการตรวจปัสสาวะและการเจาะเลือดเพื่อวัดค่าไต ซึ่งเป็นการค้นหาสารยูเรียที่รั่วไหลในกระแสเลือด ซึ่งอาจมีที่มาจากการทำงานผิดปกติของไต

การตรวจ ทำโดยการวัดค่า BUN, Creatinine, และ eGFR ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่มีมาตรฐานสากลที่ช่วยในการวินิจฉัยอย่างแม่นยำเพื่อติดตามสุขภาพของไต
แปลผลค่าไต ดูยังไง รู้ไว้ อ่านเป็น
1. การตรวจค่าไต BUN (Blood Urea Nitrogen)

เป็นกระบวนการที่ใช้การเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับไนโตรเจนในสารยูเรีย ซึ่งช่วยในการประเมินคุณภาพของเลือด โดยการวัดปริมาณไนโตรเจนที่ปล่อยออกมาในกระแสเลือด

การเตรียมตัวก่อนการตรวจค่าไต BUN มีดังนี้

1. เมื่อได้รับการวินิจฉัยให้ตรวจ BUN ผู้ป่วยควรลดการบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีสีแดงให้น้อยลง

2. ผู้ป่วยควรงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการตรวจค่าไต

ค่าปกติของ BUN จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มตามอายุ ดังนี้
- ค่า BUN ปกติในผู้ใหญ่ อยู่ที่ประมาณ 10 - 20 mg/dL.

- ค่า BUN ปกติในเด็ก อยู่ที่ประมาณ 5 - 18 mg/dL.

หากค่า BUN สูง อาจแสดงถึงความเป็นไปได้ของปัญหาในระบบการทำงานของไต และอาจเป็นสัญญาณของภาวะไตวายเฉียบพลันได้
แปลผลค่าไต ดูยังไง รู้ไว้ อ่านเป็น
2. การตรวจค่าไต Creatinine

เป็นกระบวนการที่ใช้การเจาะเลือดเพื่อวัดปริมาณของเสียจากกล้ามเนื้อภายในร่างกายที่เผาผลาญในขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการเดิน การวิ่ง หรือการเคลื่อนที่ทั่วไป

ค่า Creatinine ในกระแสเลือดที่มีปริมาณมากหรือน้อยเกินไปอาจช่วยในการวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบไต

การเตรียมตัวก่อนการตรวจค่าไต Creatinine มีดังนี้

1. เมื่อได้รับการวินิจฉัยให้ตรวจ Creatinine ผู้ป่วยควรลดการบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีสีแดงให้น้อยลง

2. ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจมีผลกระทบต่อการตรวจ Creatinine เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มดเอ็นเสด (NSAIDs), ยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside), ยารักษาโรคกระเพาะอาหารโอเมพราโซล (Omeprazole), ยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim), ยาที่มีผลต่อการทำงานของไต (เช่น เซฟาโลสปอริน (Cephalosporins), ยาเคมีบำบัด

3. เมื่อได้รับการตรวจ CR ควรตรวจสอบทุก ๆ 6 เดือน
แปลผลค่าไต ดูยังไง รู้ไว้ อ่านเป็น

ค่าปกติของ Creatinine

จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มตามเพศ ดังนี้

- ค่าปกติของผู้ชาย: 0.6-1.1 mg/dL.
- ค่าปกติของผู้หญิง: 0.5-1.1 mg/dL.

ถ้าค่า Creatinine ต่ำกว่าปกติ อาจแสดงถึงการที่กล้ามเนื้อและเส้นประสาทไม่ได้รับการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพในชีวิตประจำวัน ตลอดจนถึงภาวะกล้ามเนื้อลีบหรือฝ่อ 

แต่หากค่า Creatinine สูงกว่าปกติ ก็อาจเป็นสัญญาณของการอุดตันในระบบปัสสาวะเช่น นิ่ว และภาวะขาดน้ำ

แปลผลค่าไต ดูยังไง รู้ไว้ อ่านเป็น
3. การตรวจค่าไต BUN / Creatinine Ratio

เป็นการคำนวณอัตราส่วนระหว่างค่า BUN กับค่า Creatinine เพื่อให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพของไตในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคแทรกซ้อนและโรคที่เกี่ยวข้องกับไต 

ขั้นตอนการคำนวณนี้จะใช้ตัวเลขของค่า BUN หารด้วยตัวเลขของค่า Creatinine เพื่อให้ได้อัตราส่วน ซึ่งค่าปกติของ BUN/Creatinine Ratio คือ 10-20 : 1

หากค่า BUN/Creatinine Ratio ต่ำกว่าปกติ อาจแสดงถึงการได้รับโปรตีนน้อยเกินไปและไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อสลาย หรือมีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อบางส่วน

หรือหากค่า BUN/Creatinine Ratio สูงกว่าปกติ อาจแสดงถึงการตกเลือดในทางเดินอาหารหรือทางเดินหายใจ การขาดน้ำ หรือมีนิ่วในไต ซึ่งอาจนำไปสู่อาการไตวายเฉียบพลัน
แปลผลค่าไต ดูยังไง รู้ไว้ อ่านเป็น
4. การตรวจค่าไต Creatinine Clearance

ค่าปกติของ Creatinine Clearance ที่ได้จากการตรวจเลือดจะถูกแบ่งกลุ่มตามเพศ ดังนี้
- ค่าปกติของผู้ชาย คือ 97 - 137 มล./นาที หรือ 0.93 - 1.32 มล./วินาที

- ค่าปกติของผู้หญิง คือ 88 - 128 มล./นาที หรือ 0.85 - 1.23 มล./วินาที

หากค่า Creatinine Clearance ต่ำกว่าปกติ แสดงถึงการกรองส่วนของไตที่ลดลง ซึ่งอาจเป็นผู้สูงอายุ หรืออาจมีโรคแทรกซ้อนเช่นโรคหัวใจวาย ภาวะขาดน้ำ หรือการใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลกระทบต่อการตรวจไต ทำให้ได้ค่าที่ต่ำกว่ามาตรฐาน

หรือหากค่า Creatinine Clearance สูงกว่าปกติ มีความเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยอาจจะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ตามปกติ หรืออาจเกิดขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์
แปลผลค่าไต ดูยังไง รู้ไว้ อ่านเป็น
5. การตรวจค่าไต eGFR

คือการตรวจวัดอัตราการคัดกรองของกระแสเลือดในไตต่อนาที เพื่อตรวจเช็คประสิทธิภาพการกรองของไต

ค่า eGFR ปกติ คืออัตราการคัดกรองของเสียภายในไตที่สามารถคัดกรองของเสียได้มากกว่า 90 มล./นาที/1.73 ตร.ม.

การวัดระยะความเสื่อมของไต จึงแบ่งออกเป็น 5 ระยะดังนี้

ไตเสื่อมระยะที่ 1 eGFR ≤ 90 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
ไตทำงานปกติ แต่ตรวจพบสิ่งแปลกปลอมเล็กน้อย

ไตเสื่อมระยะที่ 2 eGFR 60 – 89 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
ไตทำงานผิดปกติเล็กน้อย

ไตเสื่อมระยะที่ 3 eGFR 30 – 59 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
ไตทำงานอยู่ในระดับปานกลาง

ไตเสื่อมระยะที่ 4 eGFR 15 – 29 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
ไตทำงานผิดปกติมาก

ไตเสื่อมระยะที่ 5 eGFR < 15 มล./นาที/1.73 ตร.ม.
อยู่ภาวะไตวาย
Powered by Salepage ขายของออนไลน์ ,เซลเพจ ยิง Ads, เว็บไซต์หน้าเดียว