การปลูกถ่ายไต ความหวังใหม่ ให้ชีวิต
การปลูกถ่ายไต ความหวังใหม่ ให้ชีวิต

การปลูกถ่ายไต เป็นวิธีการบำบัดทดแทนไตที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการรักษาภาวะไตเรื้อรังในระยะสุดท้าย

ผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการทำการฟอกไต สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ กลับไปทำงานได้ มีอายุที่ยืนยาว และยังสามารถตั้งครรภ์และมีบุตรได้ตามปกติ
การปลูกถ่ายไต ความหวังใหม่ ให้ชีวิต
การปลูกถ่ายไต คืออะไร

การปลูกถ่ายไต (Kidney transplantation) คือการใช้ไตจากผู้บริจาคที่มีการตรวจสอบแล้วว่าเข้ากันได้เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยการนำไตใหม่มาทำหน้าที่แทนไตที่สูญเสียไปในร่างกายของผู้ป่วย

การปลูกถ่ายไตถือเป็นวิธีการรักษาที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคไตในระยะสุดท้ายทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากถ้าไตใหม่ทำหน้าที่ได้ดีแล้ว ก็จะสามารถทดแทนไตเดิมได้อย่างสมบูรณ์แบบ
การปลูกถ่ายไต ความหวังใหม่ ให้ชีวิต

การปลูกถ่ายไต ทำอย่างไร

แพทย์จะนำไตจากผู้บริจาคที่เข้ากันได้มาปลูกถ่าย “เพิ่ม” ให้กับผู้ป่วย โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนไตเดิมของผู้ป่วยออก ไตใหม่จะถูกปลูกถ่ายไว้ในอุ้งเชิงกรานข้างใดข้างหนึ่งของผู้ป่วย

จากนั้นจะต่อหลอดเลือดของไตใหม่เข้ากับหลอดเลือดของผู้ป่วยและต่อท่อไตใหม่เข้าในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งการปลูกถ่ายไตใหม่นี้สามารถใช้เพียงข้างเดียวก็พอ

การปลูกถ่ายไต ความหวังใหม่ ให้ชีวิต
อัตราความสำเร็จในการปลูกถ่ายไต

เครือข่ายการปลูกถ่ายและจัดหาอวัยวะแห่งชาติรายงานว่า อัตราความสำเร็จหลังการปลูกถ่ายด้วยไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่ คือร้อยละ 98.11 ใน 1 ปีหลังการผ่าตัด และร้อยละ 86 ใน 5 ปีหลังการผ่าตัด

ในขณะที่อัตราความสำเร็จของการปลูกถ่ายด้วยไตจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้วก็ยังสูงใกล้เคียงกัน ที่ร้อยละ 94.84 ใน 1 ปีหลังการผ่าตัด และร้อยละ 79 ใน 5 ปีหลังการผ่าตัด
การปลูกถ่ายไต ความหวังใหม่ ให้ชีวิต
ไตที่ใช้ในการปลูกถ่าย นำมาจากไหน

ในการปลูกถ่ายไตให้สำเร็จ ไตที่สมบูรณ์จะต้องมาจากผู้บริจาคที่มีชนิดของเลือดและเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้กับผู้ป่วย และจะยิ่งดีขึ้นมากหากลักษณะทางพันธุกรรมของผู้บริจาคคล้ายกับของผู้ป่วยเอง

ซึ่งการบริจาคนั้นจะได้มาจาก 2 แหล่ง ได้แก่
การปลูกถ่ายไต ความหวังใหม่ ให้ชีวิต

1. ไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่ (Living Donor)

ซึ่งในทางกฎหมายผู้บริจาคจะต้องเป็นญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด เช่นพ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก หรือเป็นการบริจาคโดยสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันมาไม่น้อยกว่า 3 ปี จึงจะสามารถทำเรื่องขอบริจาคได้ แต่หากในกรณีที่ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน ก็ไม่จำเป็นต้องรอจนครบ 3 ปี

ผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่จะต้องได้รับการตรวจร่างกายโดยละเอียด เพื่อให้มีความแน่ชัดว่ามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์เพียงพอที่จะสละไตออกได้ 1 ข้างโดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุด

ผู้บริจาคต้องมีความเข้าใจในเรื่องการบริจาค มีความตั้งใจ เต็มใจ ที่จะช่วยเหลืออย่างบริสุทธิ์ใจ ปราศจากอามิสสินจ้างตอบแทน

ภายหลังการบริจาคไต ผู้บริจาคไตจะเหลือไตเพียงข้างเดียวและใช้เวลาในการพักฟื้น 2-4 สัปดาห์ ผู้บริจาคจะยังคงมีสุขภาพปกติ แข็งแรงเหมือนคนที่มีไต 2 ข้างตามปกติ

ผู้ป่วยสามารถทำงาน ออกกำลังกาย เดินทาง และมีอายุยืนยาวเหมือนคนปกติ เพียงแต่ควรระมัดระวังดูแลไตที่เหลือไม่ให้เกิดการติดเชื้อ ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนต่อไต และควบคุมอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่ มักทำงานเป็นปกติอยู่ได้นานประมาณ 12 – 20 ปี ก่อนที่จะต้องได้รับการบริจาคไตใหม่

การปลูกถ่ายไต ความหวังใหม่ ให้ชีวิต

2. ไตจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้ว (Deceased Donor)

คือมาจากผู้บริจาคที่สมองตายแล้ว ซึ่งในทางกฎหมายและทางการแพทย์ถือว่าเป็นผู้ที่เสียชีวิตแล้ว แต่ไตยังทำงานเป็นปกติดีอยู่

ทั้งนี้การบริจาคไตต้องเกิดจากความประสงค์ของเจ้าของไต หรือได้รับการยินยอมจากญาติผู้เสียชีวิตแล้วเท่านั้น

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ไตจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้ว มักทำงานเป็นปกติอยู่ได้นานประมาณ 8 - 12 ปี ก่อนที่จะต้องได้รับการบริจาคไตใหม่

การปลูกถ่ายไต ความหวังใหม่ ให้ชีวิต
การปฏิบัติตัวหลังได้รับการปลูกถ่ายไต

ผู้ป่วยจะต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อฟื้นตัว 2-3 วัน โดยที่ตลอดช่วงฟื้นตัวจากการปลูกถ่ายไตอาจจะมีอาการเจ็บบริเวณแผลผ่าตัดและทั่วช่องท้อง ทีมแพทย์จะติดตามผลของการปลูกถ่ายไตอย่างใกล้ชิด

ผู้ป่วยจะต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันมองว่าไตที่ปลูกถ่ายเป็นสิ่งแปลกปลอมแล้วปฏิเสธมัน และอาจจะต้องกินยาอื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด

ผู้ป่วยจะต้องกินยากดภูมินี้ไปตลอดเท่าที่มีไตที่ปลูกถ่ายอยู่ มิใช่เพียงแค่ช่วงฟื้นตัวจากการผ่าตัดปลูกถ่ายเท่านั้น
Powered by Salepage ขายของออนไลน์ ,เซลเพจ ยิง Ads, เว็บไซต์หน้าเดียว